วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระบบสหกรณ์กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับระบบสหกรณ์เนื่องจากในการอยู่ในระบบสหกรณ์กับคนหมู่มาก เราจึงสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือความพอประมาณมาใช้ได้ นั่นก็คือ ความไม่โลภ มีคุณธรรม ไม่หวังเอาผลประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียว หากทุกคนสามารถทำตามข้อนี้ได้ก็จะเกิดความสงบสุขและความสามัคคีในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์นั้นๆ และควรมีเหตุผลและความรู้ในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังควรมีภูมิคุ้มกัน คือพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่สมดุล และสามารถแยกออกมาเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
1.แนวคิดเสรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ฟังความคิดเห็นผู้อื่นและสามารถประยุกต์กับระบบสหกรณ์คือ ช่วยให้สมาชิกได้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่ต้องฟังเสียงข้างมากและความเสมอภาคของสมาชิกสหกรณ์
2.แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักให้พึ่งตนเองได้เช่น เพิ่มรายรับและลดรายจ่ายซึ่งสามารถประยุกต์กับระบบสหกรณ์คือเน้นความเป็นอิสระและพึ่งตนเองไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของผู้อื่น
3.เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้สมาชิกเป็นคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์และเอื้อเฟื้อ ซึ่งสามารถประยุกต์กับระบบสหกรณ์คือมีการใช้หลักความเอื้ออาทรเน้นช่วยเหลือพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
4.เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ร่วมมือและสามมัคคีกัน ลดการทะเลาะและช่วยเหลือผู้อื่นและสามารถประยุกต์กับระบบสหกรณ์คือให้สมาชิกเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

5.เศรษฐกิจพอเพียงส่มเสริมให้สหกรณ์มีการขยายร่วมมือกันให้องค์การที่แข็งแกร่งและร่วมมือกันของสถาบันต่างๆทำให้สหกรณ์ก้าวหน้า

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

               “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         ศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
                ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้


เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข


3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
  • ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
  • ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น







พระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดํารัสที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงินวิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย 

เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน

พระองค์ท่านจึงได้ มีพระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต แก่คนไทย ดังต่อไปนี้
พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541
“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้
แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน 
ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน 
ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”

พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา 
"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน
เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง 
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม 
แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป"

ความเข้าใจของคนส่วนมากต่อเศรษฐกิจพอเพียง
คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งแท้จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น ก็สามารถนำเอาแนวพระราชดำรัสไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น

"ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม้ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากขนาดใหญ่เกินไป ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาผลิตสินค้า ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ในประเทศไทยก่อน เพื่อให้ไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติ

อย่างเช่นปัจจุบันผู้ที่เป็นเกษตรกร หากมีความพอประมาณในใจตน ไม่นึกแต่จะซื้อรถคันใหม่ หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกอยู่ร่ำไป ก็จะมีความสุข"

เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีชีวิตแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และมีใจตนเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือวิถีชีวิตไทย ที่ยึด ทางสายกลาง ของความพอดี



แหล่งอ้างอิง : http://xn--12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/
                     http://www.eto.ku.ac.th/s-e/mean-th.html

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี













วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี:บรรจุภัณฑ์


บรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

         จากความหมายพอสรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นหมายถึง เรื่องของวิทยาศาสตร์ และเรื่องของศิลปะที่ใช้เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึงมือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องมีต้นทุนของการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป

  

ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์

                      ประเทศของเรามีสินค้ามีผลิตผลทางด้านการเกษตรกรรม และการประมงมากมาย  เช่นผักสด ผลไม้สด และสินค้าที่เป็นอาหารจากทะเล  สิ่งที่กล่าวมานี้จะได้รับความเสียหายมากเนื่องจากสภาวะของอากาศการบรรจุหีบห่อ และการขนส่งที่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายเหล่านั้นลงได้ซึ่งเป็นการช่วยให้ผลผลิตที่กล่าวถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ดี และจะทำให้ขายได้ในราคาที่สูงอีกด้วย
                      นอกจากนี้แล้วผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากอาหารแปรรูปถ้าการบรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายและสามารถ  จำหน่ายได้ในราคาที่สูงเช่นกัน       
                      จะเห็นได้ว่าการบรรจุภัณฑ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผลผลิต   ทั้งหลายซึ่งสามารถสรุปเป็นรายละเอียดเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
                      1. รักษาคุณภาพ และปกป้องตัวสินค้า  เริ่มตั้งแต่การขนส่ง การเก็บให้   ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมิให้เสียหายจากการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง แมลง คน ความชื้น ความร้อน  แสงแดด และการปลอมปน  เป็นต้น
                      2. ให้ความสะดวกในเรื่องการขนส่ง การจัดเก็บมีความรวดเร็วในการ   ขนส่ง เพราะสามารถรวมหน่วยของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นหน่วยเดียวได้ เช่น ผลไม้หลายผลนำลงบรรจุในลังเดียว  หรือเครื่องดื่มที่เป็นของเหลวสามารถบรรจุลงในกระป๋องหรือขวดได้  เป็นต้น
                      3. ส่งเสริมทางด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น ดังนั้นบรรจุภัณฑ์จะต้องจะทำหน้าที่บอกกล่าวสิ่งต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดของตัวสินค้า    และนอกจากนั้นจะต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการตัดสินใจซื้อ    ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวของ      บรรจุภัณฑ์  นั้นเป็นเสมือนพนักงานขายที่ไร้เสียง (Silent Salesman)

ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์

ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค

ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์มีประโยชน์มากกว่าเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่รองรับและบรรจุสินค้า ซึ่งได้แก่

ใช้ห่อหุ้ม บรรจุ และรวบรวมสินค้า
ใช้ป้องกันความเสียหายและความเสื่อมคุณภาพของสินค้า
ใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการใช้งาน การขนส่ง และการจัดจำหน่ายสินค้า
ใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้บริโภค ถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นสื่อโฆษณาดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจและเลือกซื้อสินค้า

ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการจำหน่ายสินค้า ที่ต้องผนวกวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การจัดการและศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อสามารถคุ้มครองการเสื่อมสภาพและยืดอายุสินค้า เพิ่มความสะดวกในการลำเลียงขนส่ง ตลอดจนสามารถดึงดูดลูกค้าและโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าไปในตัว และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ สารดูดความชื้น การเคลือบสารฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์บนบรรจุภัณฑ์ และการใช้วิธีปรับสภาพบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ที่ชะลอการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

บทบาทสำคัญหรือหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์

1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือตามรูปร่างของภาชนะนั้น ๆ

2. ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยสภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลาในการเก็บรักษา สภาพการขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพลักษณะของสินค้าให้เหมือนเมื่อผลิตออกจากโรงงานให้มากที่ สุด

3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย

4. บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณ - ภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายใน คืออะไร ผลิตจาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วนประกอบ วันเวลาที่ผลิต วันเวลาที่ หมดอายุ การระบุข้อความสำคัญ ๆ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการเคลื่อนไหวทางด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้องทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้องดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจในการใช้ และหลังจากใช้แล้วเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีก หีบห่อจะทำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานขายเงียบ (Silent Salesman) ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจ และชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัวอักษร ฯลฯ

6.
ช่วยเพิ่มผลกำไร หีบห่อจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อสามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาด โดยการเปิดตลาดใหม่หรือการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต

7.
สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

8.
การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด 
 
9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่งคุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อไม่ได้

10.
การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้    

หลักการเลือกบรรจุภัณฑ์

ในการพิจารณาเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละชนิด มีปัจจัยที่ควรพิจารณา คือ

1.ลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า

สินค้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งเราจะต้องพิจารณาว่าลักษณะของสินค้าทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านเคมีมี ลักษณะเป็นเช่นไร เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้อง เช่น ถ้าสินค้าของเรามีลักษณะเป็นของเหลว เราจะต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะที่ไม่เสียสภาพเมื่อโดนความชื้น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ หรือ ถ้าสินค้ามีลักษณะเป็นกรด เราก็จะต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถทนความเป็นกรดได้ เป็นต้น

2.วัสดุภาชนะบรรจุ          

วัสดุที่เรานิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ
-แก้ว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีทั้งชนิดโปร่งใสและโปร่งแสง ซึ่งสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ, น้ำ,กลิ่น ได้ สามารถทนแรงอัดอากาศได้และไม่ทำปฏิกิริยากับสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีกลิ่น และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นวัสดุที่ค่อนข้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่มีข้อเสียคือ มีความเปราะบางและแตกหักง่ายและมีน้ำหนักค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับบรรจุ ภัณฑ์ชนิดอื่นๆ

-กระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ราคาถูก สามารถใช้งานได้สะดวกเนื่องจากสามารถพับเก็บได้ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการ จัดเก็บ สาามารถใช้กับสินค้าได้หลายประเภท อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ แต่มีข้อเสียคือ ไม่ทนความชื้นและแมลงกัดแทะ
-โลหะ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง สามารถทนความร้อนและแรงดันได้สูง สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ อาจเกิดปฏิกิริยากับสินค้าที่บรรจุได้ กัดกร่อนได้ง่าย และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก



-พลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายชนิด สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีราคาถูก สามารถขึ้นรูปได้ง่ายและขึ้นรูปได้หลายรูปแบบ แต่มีข้อเสียคือไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะย่อยสลายได้ยาก


ตัวอย่างวัสดุที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

บรรจุภัณฑ์จากพืช
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพืชไม่ว่าจะเป็นไม้ เยื่อไม้ กระดาษ หรือเส้นใยต่างๆ ในรูปของกระดาษ สิ่งทอ เช่น ผ้า หรือเครื่องจักสาน  สามารถพบเห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้ตามท้องตลาดในชนบท ในรูปของบรรจุภัณฑ์อาหารท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ เช่น การนำใบตอง ใบเตย  มาทำภาชนะใส่ขนมหรืออาหารคาว  การนำกระบอกไม้ไผ่ทำข้าวหลาม การสานตะกร้า ชะลอม กระดาษสา ผ้าฝ้ายทอ เป็นต้น
ปัจจุบันมีวิธีการนำวัสดุจากพืชผัก แปรรูปเป็นแผ่นและรูปทรง ซึ่งบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีข้อดีคือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชเมื่อใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
       เบื้องต้นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากพืชนี้  ทำเพื่อห่อหุ้มปกป้องผลิตภัณฑ์ภายใน  ความงดงามด้านสีสันลวดลายพื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ ล้วนเกิดจากวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก 
สำหรับวัสดุไม้ ไม่ค่อยได้รับความนิยม ในการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน ที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง  เนื่องจากมีความแข็งและน้ำหนักมาก  ดังนั้นส่วนใหญ่นิยมนำมาออกแบบเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งมากกว่า
                
จากข้อมูลของประเทศญี่ปุ่นพบว่า ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1983 ปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์  มีดังนี้ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุประเภทกระดาษ มีสูงถึง 44 - 45 เปอร์เซ็นต์ รองลง มาคือ พลาสติก 19 - 20 เปอร์เซ็นต์ โลหะประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ วัสดุจำพวกแก้ว 4 – 5 เปอร์เซ็นต์
เยื่อและกระดาษจัดได้ว่า เป็นวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์มากที่สุด เพราะเป็นวัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อวัสดุและสามารถพิมพ์สีสันได้สวยงาม น้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่ง




ลักษณะกระดาษบรรจุภัณฑ์นอกจากแบนราบธรรมดา  เทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าสามารถสร้างสรรค์กระดาษให้ได้ลักษณะที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ กระดาษลูกฟูก กระดาษสื่อผสม เป็นต้น บรรจุภัณฑ์กระดาษนิยมใช้ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กและ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ข้อดีบรรจุภัณฑ์กระดาษ คือวัสดุกระดาษทำจากพืชธรรมชาติ ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษมีราคาถูก เนื้อวัสดุมีน้ำหนักไม่มาก เมื่อนำมาใช้งาน จะได้บรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา พื้นผิวของวัสดุสามารถพิมพ์และตกแต่งได้ง่ายและสวยงาม  สามารถเคลือบหรือประกอบติดกับวัสดุชนิดอื่นได้ดี การแปรรูปเพื่อการออกแบบสามารถ สร้างสรรค์ได้สะดวก  ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ได้แก่ กระดาษเป็นวัสดุที่มีความคงทนน้อยฉีกขาดได้ง่าย เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย สภาพความชื้นและอากาศซึมผ่านบรรจุภัณฑ์สัมผัสผลิตภัณฑ์ภายในได้ง่าย มีข้อจำกัดการใช้ ไม่เหมาะสมกับในการเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าแปรรูปชนิดเหลว
ชนิดของกระดาษที่ผลิตในระบบรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ชนิดของกระดาษที่ผลิตในระบบรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ใช้กับงานสิ่งพิมพ์โรงพิมพ์ และตามร้านเครื่องเขียน แบ่งออกได้ ดังนี้

   

1. กระดาษธรรมดา  แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
1.1 กระดาษทิชชู่
1.2 กระดาษบรีเชส หรือ กระดาษเนเธอรัลลามิเนตติ้ง
1.3 กระดาษเบลช หรือ กระดาษเนเธอรัลพริ้นติ้ง
1.4 กระดาษพรั๊ช
1.5 กระดาษเกรซพรู๊ฟ
1.6 กระดาษคราสซิ่ง
1.7 กระดาษพราชเม้นท์                 
2. กระดาษแข็ง  แบ่งตามคุณลักษณะของกระดาษ ได้ดังนี้
2.1 กระดาษชิพบอร์ด
     2.2 กระดาษโซลิดมานิลาบอร์ด
     2.3 กระดาษคราฟท์ไซลินเดอร์บอร์ด
     2.4 กระดาษคราฟท์ฟอร์ไดรเนอร์บอร์ด
     2.5 กระดาษปอนด์ หมายถึง กระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีฟอกฟอกขาว หรือทำจากเยื่ออื่นใดที่มีคุณสมบัติทางกายภาพของกระดาษเท่าเทียมกัน


2.5.1 กระดาษปอนด์สำหรับพิมพ์ หมายถึง กระดาษปอนด์ที่ทำขึ้น เพื่อใช้พิมพ์ด้วยระบบเลตเตอร์เพรส
2.5.2 กระดาษปอนด์สำหรับการพิมพ์ออฟเซต หมายถึง กระดาษที่ทำขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการพิมพ์ระบบออฟเซต
2.5.3 กระดาษปอนด์สำหรับเขียน
2.5.4 กระดาษปอนด์สำหรับอัดสำเนา
2.5.5 กระดาษปอนด์สำหรับพิมพ์และเขียน
2.5.6 นอกจากนี้ยังมีกระดาษปอนด์ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ กระดาษแอร์เมล์  กระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษเอ็มจี  กระดาษอาร์ต  กระดาษวาดเขียน กระดาษปก เป็นต้น


                                                      
3. กระดาษลูกฟูก แบ่งตามลักษณะของลอนลูกฟูก ออกได้เป็น 4 ชนิด  ดังนี้
3.1  กระดาษลูกฟูกสองชั้นหรือกระดาษลูกฟูกหนึ่งหน้า
3.2  กล่องกระดาษลูกฟูกสามชั้นหรือกระดาษลูกฟูกสองหน้า ( 1ชุด  )
3.3  กล่องกระดาษลูกฟูกห้าชั้น ( 2 ชุด )
3.4  กล่องกระดาษลูกฟูกเจ็ดชั้น ( 3 ชุด )
  
4. กระดาษการ์ด แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระดาษการ์ดมานิลา และกระดาษการ์ดไอวอรี่ 
5. กระดาษสา  เป็นกระดาษที่ทำจากวัสดุที่ได้จากพืช ในท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนที่เรียกว่า ปอสาหรือปอกระสา เป็นพืชที่ให้เส้นใยจากเปลือกของลำต้น เป็นพืชชนิดไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตรในช่วงอายุ 7-8  ปี  สำหรับประเทศไทยพบมากในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในบางจังหวัด แหล่งผลิตเปลือกปอสาที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน สุโขทัย เชียงใหม่  เชียงราย ลำปาง พะเยา ลำพูน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก อุทัยธานี และเลย
      คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสา เกิดมาจากวัตถุดิบปอสา ซึ่งเป็นพืชที่มีเยื่อเป็นเส้นใยยาว  มีความเหนียวมาก นำมาแปรสภาพโดยการทุบตีเยื่อไม้ เพื่อนำมาทำเป็นกระดาษ ทำเชือก หรือใช้เป็น เยื่อผสมปูนขาว ปูนปลาสเตอร์ในการหล่อผลิตภัณฑ์ โดยช่วยเสริมความแข็งแรงคงทนให้แก่ตัวผลิต ภัณฑ์นั้นๆ  สำหรับตัวกระดาษสาแปรสภาพ มาจากการทุบเยื่อไม้ให้กระจายออก และยังคงรักษาเนื้อ กาวในตัวเส้นเยื่อ  เพื่อรักษาคุณภาพของเยื่อกระดาษ เป็นเส้นใยเกาะประสานกันอย่างเหนียวแน่น มีความนุ่มทนทานเก็บไว้ได้นานนับร้อยปี โดยไม่มีการผุกร่อนแตกหักหรือแห้งกรอบ  เนื้อกระดาษสาไม่มีการผสมพวกแป้งหรือดินขาว แมลงจึงไม่ชอบกัดแทะ ถือเป็นคุณสมบัติเด่นของกระดาษสา

การพัฒนากระดาษสาแปรรูปทำบรรจุภัณฑ์  จึงควรเข้าใจกับคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบปอสาและกระดาษสา เพื่อหยิบเอาความดีเด่นมาใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในด้านสิ่งแวดล้อมเศษกระดาษสาที่เหลือจากการทำผลิต สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำไปแช่น้ำและ ตีเยื่อทำเป็นกระดาษสาแผ่นใหม่ได้ กระดาษสาเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมือง ซึ่งนิยมทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวทางภาคเหนือของประเทศไทย มาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน  ในอดีตกระดาษสาตอบสนองประโยชน์ใช้สอย สำหรับทำกระดาษจดบันทึกตำรายาโบราณ เขียนคัมภีร์พุทธศาสนา วาดภาพ ทำกระดาษเช็ดมือ กระดาษห่อของ 

ทำสายชนวน พลุไฟ ทำร่ม พัด  หัว โขน ถุง กระดาษแบบเสื้อ หรือทำโคมไฟ ในเทศกาลที่สำคัญ เป็นต้น  
 ลักษณะของกระดาษสาที่มีการผลิต และจำหน่ายในปัจจุบันแบ่ง ได้ดังนี้
       1. กระดาษสาธรรมชาติ มีสีขาวตุ่นหรือน้ำตาลคล้ำ ค่อนข้างดำเพราะไม่ได้ฟอกสี เนื้อกระ ดาษไม่ค่อยสม่ำเสมอ เพราะทำด้วยมือ 
       2. กระดาษสาฟอกขาว เป็นกระดาษสาที่มีการพัฒนาให้คุณภาพดีกว่าเดิม เนื้อบางสม่ำเสมอ เหนียว มีสีขาว เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์
       3. กระดาษสาย้อมสี เป็นการปรับปรุงวิธีการทำกระดาษสาให้มีสีสันต่างๆ ในขั้นตอนการผลิตจะได้กระดาษสาสีต่างๆ ที่มีพื้นผิวสลับลายสวยงาม อีกวิธีหนึ่งคือตกแต่งสี ลวดลายหลังกระบวน การผลิต วิธีการทำลวดลายและสีบนกระดาษสา 
1 ) การพิมพ์ มี 2 วิธี คือวิธีแรกคือ การพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ (wood - cut) หรือผลไม้แกะ สลัก วิธีที่สองการพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษสาโดยใช้วิธีเดียวกับการพิมพ์ผ้า
2 ) การระบายสี เป็นการเขียนลวดลายโดยการใช้พู่กันระบายด้วยสีต่างๆ
3 ) การเขียนลวดลาย เป็นการเขียนลวดลายโดยใช้ดินสอหมึก หรือปากกาเขียนลาย เส้นอิสระเป็นลวดลายต่างๆ
4 ) การทำลวดลายบาติก (batik)โดยการเขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้งผสมกับพาราฟิน แล้วนำไปย้อมสี  บริเวณที่เป็นลวดลายขี้ผึ้งจะไม่ติดสี  แต่จะมีสีซึมแทรกไปตามรอยแตกของเทียนเรียกกันว่า "แคร็ก"  (crack)  เมื่อสีแห้งแล้วจึงลอกเอาเทียนออกโดยใช้เตารีดรีดผ่านหนังสือพิมพ์
5 ) การพับจีบ (patch ) โดยนำเอากระดาษสาย้อมสีต่างๆ มาตัดหรือจับจีบเป็นรูปทรงเรขาคณิตแล้วนำไปติดบนกระดาษสา สีฟื้นซ้ำๆ ได้ลวดลายกระดาษสาจังหวะซ้ายขวาที่สม่ำเสมอ
6 ) การตัดปะหรือคอลลาจ ( applique หรือ collage ) ทำลวดลายบนกระดาษสาด้วยวิธีตัดปะวิธีการคือนำเอากระดาษสาสีต่างๆมาฉีก หรือตัดเป็นลวดลายต่างๆ ตามใจชอบ แล้วปะบนกระ ดาษสาสีพื้น สามารถสร้างลวดลายต่างๆ ได้ตามจินตนาการ
7 ) การมัดย้อม (tie-dye)โดยการนำเอากระดาษสา มาพับจีบหรือม้วน และผูกด้วยเชือกฟางหรือหนีบด้วยลวดหนีบกระดาษ (clip)  แล้วใช้สีย้อมหยดลงบนกระดาษสานั้น บริเวณที่ผูกหรือหนีบไว้ทิ้งให้สีแห้ง แล้วแกะวัสดุที่มัดออกจะได้ลวดลายสลับสีบนเนื้อกระดาษสา
8 ) การทำพิมพ์ฉลุ (stencil) เป็นการนำเอาลวดลายฉลุ มาวางบนกระดาษสาสีพื้น แล้วพ่นด้วยสีสเปรย์  หรือใช้ใบไม้ กิ่งไม้ หรือวัสดุอื่นๆวางบนกระดาษสา  แล้วพ่นด้วยสีสลับไปมาจะได้ลวดลายที่แปลกตาตามต้องการ
9 ) การทำลายหินอ่อน (marbling) เป็นการใช้สีน้ำมันหยดลงบนผิวน้ำ แล้วเกลี่ยให้เกิดลวดลายผสมกัน แล้วใช้กระดาษสาวางทาบลงไป  สีน้ำมันจะติดลงในกระดาษสา จะได้ลวดลายหินอ่อนตามต้องการ
ยังมีวิธีการทำลวดลายและสีอีกมากมาย ที่สามารถนำมาดัดแปลง ใช้สำหรับงานสร้างสรรค์ บนกระดาษสาเพื่อบรรจุภัณฑ์  เป็นการนำเอากระดาษสา ซึ่งเป็นทรัพยากรท้องถิ่นที่มีในประ เทศมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ 


การแปรรูปวัสดุประเภทกระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
       1. กล่อง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งแบบพับ และกล่องกระดาษแข็งแบบตายตัว

       2. ถุงและซอง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภค บริโภค จัดเป็น บรรจุภัณฑ์เฉพาะตัวสำหรับผลิตภัณฑ์หน่วยเดียวอีกแบบหนึ่ง วัสดุที่ใช้ทำถุงหรือซองกระดาษ  ส่วนใหญ่นิยมใช้กระดาษคราฟท์ ( kraft ) นอกจากนี้ถุงหรือซองกระดาษยังสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ประเภทสิ่งพิมพ์  โฆษณาเคลื่อนที่แสดงเอกลักษณ์ ชื่อผลิตภัณฑ์หรือผู้ผลิตได้ดีอีกด้วย


        ถุง ( BAG )หมายถึงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนตัว เช่น กระดาษ และเปิด-ปิดได้ด้านเดียว             มี 4 รูปแบบ คือ
1) ถุงแบบขยายข้าง ( automatic  bottom  หรือ  self – opening ) ก้นถุงเป็นรูปสี่เหลี่ยม  เมื่อกางถุงสามารถวางตั้งตรงได้มีการพับความกว้างของด้านข้าง สามารถพับเก็บและขยายออกเป็นรูปทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับบรรจุของชำทั่วไป
2) ถุงแบบสแควร์บอททอม ( square  bottom หรือ pinch  bottom ) มีลักษณะเก็บความกว้างด้านข้างคล้ายถุงแบบที่1 ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง                     
3) ถุงแบบแฟลทแบค ( flat  bag ) ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง
4) ถุงแบบแซทเชล ( satchel  bottom ) ก้นถุงคล้ายแบบที่1 แต่ไม่เก็บความกว้างด้านข้าง  ถ้าเป็นถุงที่มีขนาดใหญ่ ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 50 ปอนด์ขึ้นไป เรียกว่า กระสอบ( Sack )

      ซอง ( envelope) มีขนาดเล็กกว่าถุงและกระสอบ เป็นกระดาษที่ตัดพับสำเร็จรูป มีลักษณะแบนราบมีหลายขนาด เช่น ซองสั้น ซองยาว ซองเอกสาร เป็นต้น
รูปแบบซอง แบ่งได้ 4 แบบ ดังนี้
       1) แบบออโตเมติคบอททอม (automatic  bottom or  self-opening) ก้นถุงมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อกางถุงออกสามารถวางตั้งตรงได้ เพราะมีการพับความกว้างของด้านข้างที่สามารถพับเก็บและขยายออก เป็นรูปทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยมได้  เรียกโดยทั่วไปว่าถุงแบบขยายข้าง  ปกติใช้ใส่ของชำทั่วไป
       2) แบบสแควร์บอททอม ( square  bottom or pinch  bottom ) มีลักษณะการพับความกว้างของด้านข้าง ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง
       3) แบบแฟลทแบค ( flat  bag ) เป็นถุงแบบแบน  เนื่องจากก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง แบบแซทเชลบอททอม ไม่มีลักษณะการพับความกว้างของด้านข้าง
              ดังนั้นการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์จากกระดาษสามารถทำได้หลายรูปแบบ  ซึ่งขึ้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของกรรมวิธีการผลิต


อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
1.กระดาษลูกฟูก 1ชั้น – 2ชั้น
2.คัตเตอร์
3.ต้นแบบวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 10ซม.
ขั้นตอนการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์
นำกระดาษลูกฟูกรูปสี่เหลื่ยมผืนผ้า อัตราส่วนความกล้างต่อความยาวเป็น 1:3